Episodes
Wednesday Aug 30, 2017
EP.3 - เตือนยังไงไม่ให้ช้ำ [รู้เขารู้เรา]
Wednesday Aug 30, 2017
Wednesday Aug 30, 2017
การเตือนมี 2 แบบ คือแบบมีศิลปะ กับแบบไม่มีศิลปะ
[นาทีที่ 3.00]
ในเรื่องๆ เดียวกันที่มีคนเตือน คนเราอาจตอบสนองต่อการเตือนนั้นๆ ไม่เหมือนกัน กับบางคนเราโอเคแต่กับบางคนเราไม่โอเค ที่เป็นแบบนี้เพราะองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น อายุ, ความเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ของคนพูด, ความสัมพันธ์, ความเคารพนับถือ และศิลปะในการเตือนของคนๆ นั้น
ผลของการเตือนที่ไม่มีศิลปะ นอกจากผู้ถูกเตือนจะรู้สึกไม่โอเคจนไม่เปิดใจฟังแล้วยังส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ด้วย คนเราเมื่อเจ็บปวดก็จะพยายามหลีกเลี่ยงในการเผชิญหน้า เมื่อถูกเตือนแบบไม่มีศิลปะบ่อยๆ อาจทำให้คนที่ถูกเตือนรู้สึกไม่ดีจนถึงขั้นหนีหน้าไปเลยเพราะเสียความรู้สึก
พระคัมภีร์สุภาษิตได้ให้หลักการของการเตือนแบบมีศิลปะไว้ว่า …
"คนที่มีคำตอบเหมาะๆ ในปากย่อมยินดี
คำเดียวที่ถูกกาลเทศะก็ดีจริงๆ "
สุภาษิต 15:23 (THSV11)
เราจะพูดให้ถูกจังหวะและถูกคำพูดยังไง?
[นาทีที่ 6.45]
จากหลักการใน สุภาษิต 15:23 แบ่งองค์ประกอบในการเตือนที่ดี เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
คำตอบเหมาะๆ ในปาก = ถูกคำพูด
คำเดียวที่ถูกกาลเทศะ = ถูกจังหวะ
1. พูดให้ถูกจังหวะ
[นาทีที่ 7.27]
จังหวะเป็นสิ่งสำคัญ การผิดจังหวะอาจจะทำให้คนฟังเหวอและวงแตก การพูดให้ถูกจังหวะนั้นแบ่งเป็น 2 รอ ดังนี้…
- รอดูอารมณ์ก่อน (ทั้งอารมณ์ของเค้าและอารมณ์ของเรา) - [นาทีที่ 8.45]
ในขณะที่อารมณ์ยังไม่พร้อมคนเราไม่สามารถตีความสารที่เราต้องการสื่อได้อย่างเป็นกลาง การเข้าไปคุยกับเขาในเวลานั้นอาจจะยิ่งทำให้เสียเรื่อง นอกจากอารมณ์ของเค้าแล้วข้อนี้ยังหมายรวมถึงอารมณ์ของเราด้วยเพราะบางขณะที่เราเองก็ไม่นิ่ง เช่น เวลาอารมณ์ร้อนๆ เราก็อาจจะพูดอะไรที่ไม่เข้าหู หรือแม้กระทั่งเราพูดคุยด้วยคำปกติ แต่สีหน้าและอารมณ์ก็อาจจะแสดงออกมา และคนฟังเค้าสามารถสังเกตได้
- รอฟังก่อน (เพราะทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง) - [นาทีที่ 12.05]
เราไม่ควรรีบด่วนสรุปและตัดสินเขา แม้ว่าเหตุผลที่เขาให้มานั้นจะฟังขึ้นหรือไม่ขอให้เราเปิดใจฟังก่อน และเมื่อถึงเวลาต้องตักเตือน ถ้าเราฟังเขาก่อนแล้วเขาก็จะฟังเราเช่นเดียวกัน
2. พูดให้ถูกคำพูด
[นาทีที่ 14.05]
- พูดความรู้สึกเราก่อน - [นาทีที่ 14.17]
การพูดความรู้สึกก่อนเป็นการสื่อเข้าไปถึงจิตใจได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้อีกฝ่ายสัมผัสได้ถึงความรักความห่วงใยที่มีต่อเขา การสื่อสารไปที่หัวใจก่อนจะทำให้เขาเปิดใจรับฟังเรามากกว่าการพูดความคิดเห็น
- พูดความผิดเราก่อน - [นาทีที่ 16.25]
เดล คาร์เนกี ในหนังสือวิธีเอาชนะมิตรและจูงใจคนได้เขียนไว้ว่า* “ก่อนที่จะพูดถึงความผิดของคนอื่น ให้พูดเรื่องความผิดของตัวเองก่อน”
การพูดความผิดของเราก่อน มีข้อดีคือ เปิดใจอีกฝ่ายให้เห็นว่าทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้เหมือนกัน เราเห็นใจเขา และเป็นพวกเดียวกันกับเขาไม่ได้วางตัวอยู่เหนือกว่า เช่น สมัยพี่อายุเท่าเราพี่ก็เคยผิดพลาดในเรื่องนี้…ดังนั้นพี่เข้าใจเรานะ … บลาๆๆ
- พูดเตือนด้วยความรัก - [นาทีที่ 18.52]
สีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงที่ปราศจากความรัก ทำให้ผู้ฟังรู้สึกถูก “ตำหนิ” มากกว่า “การเตือน” ข้อนี้ต่อเนื่องมาจาก EP. 1 พูดตรงๆยังไงไม่ให้พัง? สามารถคลิ๊กฟังย้อนหลังได้ที่นี่ >>> "พูดตรงๆยังไงไม่ให้พัง"
สรุป :
การเตือนจากใจไม่ให้เค้าช้ำนั้นบางครั้งเราก็ต้องเป็นฝ่ายเตรียมใจของเราที่อาจจะช้ำแทนด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเตือนเค้าไปด้วยความรัก เค้าอาจจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ แต่ไม่ว่าจะยังไงเราก็ได้ทำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุดและได้สำแดงความรักของพระเจ้ากับเค้าแล้ว
สิ่งสำคัญคือให้เราสำรวจใจตัวเองให้ดีด้วยว่า สิ่งที่เรากำลังเตือนเค้านั้นเป็นเพียงแค่ความรู้สึกของเรา หรือเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความจริงและวิถีของพระเจ้า
“ จะเตือนทั้งทีต้องเตือนด้วย ความจริง พร้อมความรัก อย่างมีศิลปะให้รู้จักรอ และรู้จักพูด” –(พี่วอร์)
[นาทีที่ 27.30]
“เรามีหน้าที่สื่อสารเท่านั้นแต่คนที่จะเปลี่ยนแปลงเค้าคือพระเจ้าไม่ใช่ตัวเรา หรือคำพูดของเรา” –(พี่เจด)
[นาทีที่ 28.12]
_______________________________
ฟังแล้วลองฝึกกัน อยากให้น้องๆ ลองถามตัวเองดูว่า...
● เราเตือนแบบมีศิลปะ มากน้อยแค่ไหน?
● และถ้าเราจะเตือนให้ดีขึ้น จะเริ่มต้นจากอะไรก่อน?
_______________________________
ขอขอบคุณที่ปรึกษาด้านเนื้อหา :
อ. เจนจิต เลิศมาลีวงศ์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาพระคัมภีร์ใหม่ โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ สวนพลู (TBTS)
*อ้างอิงหลักการบางส่วนจาก: หนังสือวิธีชนะมิตรและจูงใจคน (How to Win Friends and Influence People) ผู้เขียน เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) สำนักพิมพ์ แสงดาว
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.