Episodes
Tuesday Jan 21, 2020
[สวัสดีชาวโลก] - EP6 ทำไมเป้าหมายปีใหม่จึงไม่ค่อยสำเร็จ
Tuesday Jan 21, 2020
Tuesday Jan 21, 2020
1. เป้าหมายของเราไม่สอดคล้องกับค่านิยมของตัวเรา
ค่านิยมคือ สิ่งที่เราให้คุณค่าและยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจในการดำเนินชีวิต แบบแผนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตของเรามักจะสอดคล้องกับค่านิยมของเรา เช่น ถ้าเรามีค่านิยมเรื่องการกินที่ต่างกัน การเลือกกินมื้อเย็นว่าจะเป็นชาบูหรือหมูกระทะ ก็จะแตกต่างกัน (กินเพื่อความสุข หรือกินเพื่อสุขภาพ)
คนเรามีค่านิยมหลายอย่างและแต่ละอย่างเราให้ความสำคัญไม่เท่ากันต่างกันไปในแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
- ความสุขของตัวเอง
- ความสุขของครอบครัว
- หน้าที่การงาน
- ความร่ำรวย
- ความสะดวกสบาย
- การเป็นที่ยอมรับ
- สุขภาพที่ดี
- ความรัก
- ความมั่นคง
- ความสนุก
- มิตรภาพ
- ความกตัญญู
- ความดี ความงาม ความจรรโลงใจ
- หรือบางคนต้องการ ความยิ่งใหญ่ อำนาจ บารมี
- สำหรับคริสเตียนก็อาจจะมีค่านิยม อื่นๆ เพิ่มเข้ามา เช่น การรับใช้ให้เกิดผล ชีวิตฝ่ายจิตวิญญาฯ ความสัมพันธ์กับพระเจ้า เป็นต้น
ซึ่งแต่ละคนให้ความสำคัญกับแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ยิ่งเราให้ความสำคัญกับค่านิยมไหนมาก เราจะก็มี พลังใจ (will power) ในการทำเป้าหมายที่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราให้ความสำคัญนั้น มากกกกกกกกกกกกกกก
เป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่เรายึดถือ “อาจเป็นเป้าหมาย ที่ไม่มีความหมาย”
ถ้าเป้าหมายที่เราตั้งไว้สอดคล้องกับค่านิยมของตัวเรา การทำให้สำเร็จก็จะไม่ใช่เรื่องยากมากมายนัก แต่ใน ความเป็นจริงเป้าหมายบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ หรืออย่างน้อยเราก็ยังอยากทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ แม้ว่าจะมันขัดแย้งกับค่านิยมหลัก หรือ ไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราเองให้ความสำคัญ แต่ในเมื่อมันไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราให้ความสำคัญเราก็อาจมีพลังใจในการทำให้สำเร็จน้อยหน่อย แต่ถ้าเรายังคงตัดสินใจที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เราสามารถปรับจเปลี่ยน Mind set ของเราเพื่อให้เรามีพลังใจมากขึ้น
2. เป้าหมายของเราไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของเรา แต่เป็นอิทธิพลจากคนอื่น+สังคม บอกเรา
เรียกได้ว่าเป็น “เป้าหมายของเราที่ไม่ใช่ของเรา”
แม้ความต้องการหรือเป้าหมายบางอย่างที่เราตั้งขึ้นมันก็ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ครับ นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเราเรียกว่า เป็น “มายาคติ” (Mythology) ก็คือ ความคิดที่ครอบงำเราโดยเราไม่รู้ตัว โดยเราคุ้นชินกับความคิดนั้นไปแล้ว จนกระทั่งเราคิดไปเองว่าสิ่งที่เราคิดหรือเราเชื่อนั้นเป็นความจริงตามธรรมชาติ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเรื่องของชวิตที่ดี และประสบความสำเร็จ ในแบบสูตรสำเร็จ ตามแบบฉบับ ความฝันอเมริกัน (American Dream )
ผู้คนจำนวนมากต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง “สิ่งที่เป็นความฝันทำนองนี้” พอไม่ได้มาก็เหนื่อย หรือพอได้มาแล้วก็รู้สึกว่างเปล่า เพราะว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ พอรู้สึกตัวอีกครั้งก็ต้องมามีคำถามว่า นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายปีใหม่ก็เหมือนกัน ถ้าเราตั้งเป้าโดยวางอยู่บนอิทธิพลของสังคม หรือ อยู่ภายใต้มายาคติ เราก็อาจจะสับสน ดิ้นรนและต่อสู้ พอไม่รู้ว่าทำไปทำไมบางทีมันก็ไม่มีแรงทำ หรือ ต้องมาตั้งคำถามกับมันตลอดๆ ว่านี่คือสิ่งที่เราต้องการจริงเหรอ?
พอเป้าหมายไม่ได้เป็นของเราโดยแท้จริง แต่ไปอิงกับคนอื่นมากเกินไป ก็เกิดความเครียด การเปรียบเทียบ ความกดดัน ท้อแท้ผิดหวัง
3. เป้าหมายของเราไม่ (SMART)
ไม่เป็นรูปธรรม เป็นอุดมคติเกินไป ไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน วัดผลไม่ได้ ไม่สามารถทำได้จริง ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
ไม่ว่าจะมีแผนยังไงก็ตาม สำหรับคริสเตียนเราก็ไม่ควรขาดความวางใจพระเจ้า พระคัมภีร์ได้หนุนใจเราไว้ใน สุภาษิตว่า ...
อ้างอิงเพิ่มเติม ::
- Finnomena.com : ทำไม “เป้าหมายปีใหม่” (New Year’s resolution) ไม่เคยประสบความสำเร็จ
- RACHEL MORELAND : เมื่อชีวิตต้องวิ่งไล่ตามความสำเร็จจนเหนื่อย
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีการวางแผนแบบ SMART GOAL
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.