Episodes
Tuesday Jan 21, 2020
[สวัสดีชาวโลก] - EP6 ทำไมเป้าหมายปีใหม่จึงไม่ค่อยสำเร็จ
Tuesday Jan 21, 2020
Tuesday Jan 21, 2020
1. เป้าหมายของเราไม่สอดคล้องกับค่านิยมของตัวเรา
ค่านิยมคือ สิ่งที่เราให้คุณค่าและยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจในการดำเนินชีวิต แบบแผนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตของเรามักจะสอดคล้องกับค่านิยมของเรา เช่น ถ้าเรามีค่านิยมเรื่องการกินที่ต่างกัน การเลือกกินมื้อเย็นว่าจะเป็นชาบูหรือหมูกระทะ ก็จะแตกต่างกัน (กินเพื่อความสุข หรือกินเพื่อสุขภาพ)
คนเรามีค่านิยมหลายอย่างและแต่ละอย่างเราให้ความสำคัญไม่เท่ากันต่างกันไปในแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
- ความสุขของตัวเอง
- ความสุขของครอบครัว
- หน้าที่การงาน
- ความร่ำรวย
- ความสะดวกสบาย
- การเป็นที่ยอมรับ
- สุขภาพที่ดี
- ความรัก
- ความมั่นคง
- ความสนุก
- มิตรภาพ
- ความกตัญญู
- ความดี ความงาม ความจรรโลงใจ
- หรือบางคนต้องการ ความยิ่งใหญ่ อำนาจ บารมี
- สำหรับคริสเตียนก็อาจจะมีค่านิยม อื่นๆ เพิ่มเข้ามา เช่น การรับใช้ให้เกิดผล ชีวิตฝ่ายจิตวิญญาฯ ความสัมพันธ์กับพระเจ้า เป็นต้น
ซึ่งแต่ละคนให้ความสำคัญกับแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ยิ่งเราให้ความสำคัญกับค่านิยมไหนมาก เราจะก็มี พลังใจ (will power) ในการทำเป้าหมายที่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราให้ความสำคัญนั้น มากกกกกกกกกกกกกกก
เป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่เรายึดถือ “อาจเป็นเป้าหมาย ที่ไม่มีความหมาย”
ถ้าเป้าหมายที่เราตั้งไว้สอดคล้องกับค่านิยมของตัวเรา การทำให้สำเร็จก็จะไม่ใช่เรื่องยากมากมายนัก แต่ใน ความเป็นจริงเป้าหมายบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ หรืออย่างน้อยเราก็ยังอยากทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ แม้ว่าจะมันขัดแย้งกับค่านิยมหลัก หรือ ไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราเองให้ความสำคัญ แต่ในเมื่อมันไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่เราให้ความสำคัญเราก็อาจมีพลังใจในการทำให้สำเร็จน้อยหน่อย แต่ถ้าเรายังคงตัดสินใจที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เราสามารถปรับจเปลี่ยน Mind set ของเราเพื่อให้เรามีพลังใจมากขึ้น
2. เป้าหมายของเราไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของเรา แต่เป็นอิทธิพลจากคนอื่น+สังคม บอกเรา
เรียกได้ว่าเป็น “เป้าหมายของเราที่ไม่ใช่ของเรา”
แม้ความต้องการหรือเป้าหมายบางอย่างที่เราตั้งขึ้นมันก็ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ครับ นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเราเรียกว่า เป็น “มายาคติ” (Mythology) ก็คือ ความคิดที่ครอบงำเราโดยเราไม่รู้ตัว โดยเราคุ้นชินกับความคิดนั้นไปแล้ว จนกระทั่งเราคิดไปเองว่าสิ่งที่เราคิดหรือเราเชื่อนั้นเป็นความจริงตามธรรมชาติ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเรื่องของชวิตที่ดี และประสบความสำเร็จ ในแบบสูตรสำเร็จ ตามแบบฉบับ ความฝันอเมริกัน (American Dream )
ผู้คนจำนวนมากต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง “สิ่งที่เป็นความฝันทำนองนี้” พอไม่ได้มาก็เหนื่อย หรือพอได้มาแล้วก็รู้สึกว่างเปล่า เพราะว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ พอรู้สึกตัวอีกครั้งก็ต้องมามีคำถามว่า นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายปีใหม่ก็เหมือนกัน ถ้าเราตั้งเป้าโดยวางอยู่บนอิทธิพลของสังคม หรือ อยู่ภายใต้มายาคติ เราก็อาจจะสับสน ดิ้นรนและต่อสู้ พอไม่รู้ว่าทำไปทำไมบางทีมันก็ไม่มีแรงทำ หรือ ต้องมาตั้งคำถามกับมันตลอดๆ ว่านี่คือสิ่งที่เราต้องการจริงเหรอ?
พอเป้าหมายไม่ได้เป็นของเราโดยแท้จริง แต่ไปอิงกับคนอื่นมากเกินไป ก็เกิดความเครียด การเปรียบเทียบ ความกดดัน ท้อแท้ผิดหวัง
3. เป้าหมายของเราไม่ (SMART)
ไม่เป็นรูปธรรม เป็นอุดมคติเกินไป ไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน วัดผลไม่ได้ ไม่สามารถทำได้จริง ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
ไม่ว่าจะมีแผนยังไงก็ตาม สำหรับคริสเตียนเราก็ไม่ควรขาดความวางใจพระเจ้า พระคัมภีร์ได้หนุนใจเราไว้ใน สุภาษิตว่า ...
อ้างอิงเพิ่มเติม ::
- Finnomena.com : ทำไม “เป้าหมายปีใหม่” (New Year’s resolution) ไม่เคยประสบความสำเร็จ
- RACHEL MORELAND : เมื่อชีวิตต้องวิ่งไล่ตามความสำเร็จจนเหนื่อย
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีการวางแผนแบบ SMART GOAL
Friday Jan 17, 2020
[พระคัมภีร์ไม่ไหลย้อนกลับ] EP.1 The Beginning
Friday Jan 17, 2020
Friday Jan 17, 2020
อ่านยังไงก็ไม่เข้าหัว อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้พระคัมภีร์จะบอกอะไร ร่วมค้นหาความหมายไปกับเราได้ ในรายการ พระคัมภีร์ไม่ไหลย้อนกลับ ... เริ่มต้นด้วยพระคัมภีร์เล่มแรก "ปฐมกาล" ที่อ่านวนเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ... หรือ บทที่ 1 เป็นเพียงแค่บันทึกการสร้างโลก?
Tuesday Dec 24, 2019
[สวัสดีชาวโลก] - EP5 คริสต์มาส อะไรยังไง
Tuesday Dec 24, 2019
Tuesday Dec 24, 2019
“พระสิริจงมีแด่พระเจ้าในที่สูงสุด ส่วนบนแผ่นดินโลก
สันติสุขจงมีท่ามกลางมนุษย์ทั้งปวง ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานนั้น” - (ลูกา 2:14)
คริสต์มาส เป็นเทศกาลสำคัญที่คริสเตียนทั่วโลกเฉลิมฉลอง เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอดบนโลกมนุษย์เพื่อไถ่บาป แน่นอนว่าสิ่งต่างๆ ทั้ง การให้ของขวัญ การประดับตกแต่ง หรือแม้กระทั่งกิจกรรมต่างๆ ในวันนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นมาทีหลังและไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคริสต์มาสจะไม่มีความหมาย
วันนี้ชูใจชวนมาพูดคุยกันในเรื่อง สารพันสารพัดคำถาม ที่คริสเตียนอาจเคยสงสัย หรือมีคำถามกับคริสต์มาส ใน Podcast สวัสดีชาวโลกกันแบบสบายๆ เพื่อให้เรารู้เรื่องที่มาที่ไปของวัฒนธรรมต่างๆ ในเทศกาลนี้ และมีความเข้าใจโลกนี้มากยิ่งขึ้น
________________________________
(((ข้อมูลประกอบการฟัง PODCAST )))
คริสต์มาส คือวันระลึกถึงการมาเกิดของพระเยซูคริสต์ ซึ่ง ตลอดมานักประวัติศาสตร์หลายกลุ่มพยายามสืบค้นถึงวันที่แท้จริงที่พระกุมารบังเกิด เกิดเป็นหลากหลายคำอธิบาย ปัจจุบันชาวคริสต์ส่วนใหญ่ ยึดเอาวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ในการระลึก มีการเฉลิมฉลองตาม บ้าน โบสถ์ และสถานที่สำคัญหลายแห่ง
ภาพการประสูติของพระเยซู (1622) โดย Gerard van Honthorst
นอกจากนั้น อีกบุคคลที่คนทั่วไปมักจะคิดถึงในวันคริสต์มาสก็ คือ การให้ของขวัญ และซานตาคลอส ซึ่งกลายเป็นเหมือน Icon คู่กับเทศกาลคริสต์มาสไปแล้ว โดยซานตาคลอสที่เราเห็นในปัจจุบัน ถูกสร้างภาพลักษณ์ขึ้นมาในไม่กี่ศควรรตที่ผ่านมาเท่านั้นเอง แต่เดิมซานตาคลอส มาจาก ซินเทอร์กลาส หรือ ชื่อของนักบุญท่านหนึ่งในศาสนาคริสต์ คือ นักบุญนิโคลัส
ลาพลักษณ์ของเซนต์นิโคลัส (c. 280–343) ที่ปรากฏในงาน จิตรกรรมในศาสนา
ภาพลักษณ์ของซานตาคลอสที่เราคุ้นชิน นั้นเป็นอิทธิพลมาจาก ภาพวาดของ “โธมัส นาสต์” ศิลปินนักวาดภาพประกอบ และการ์ตูนล้อเลียนการเมืองชาวอเมริกาซึ่งวาดให้กับ หนังสือพิมพ์ ฮาร์เปอร์ วีคลี่ ในปี ค.ศ. 1881
ในปี 1931 บริษัท โคคา-โคล่า ได้ทำการว่าจ้าง ‘ฮัดดัน ซันบลูม’ (Haddon Sundblom) นักวาดภาพประกอบจากรัฐมิชิแกน ให้ดีไซน์ซานตาคลอสรูปลักษณ์ใหม่ สำหรับแบรนด์ของโคคาฌคล่า โดยเฉพาะ และด้วยความสำเร็จอย่างมากขึ้นส่งผลให้ เกิดซานต้าในรูปแบบโฆษณา print-ad ของโคคา-โคล่า เป็นที่จดจำและโด่งดังจนถูกผลิตซ้ำอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรต
ลักษณะของต้น Holly ที่ถูกนำมาใช้ในการตกแต่งสถานที่ต่างๆ ในเทศกาลคริสตมาส นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้อื่นอีกหลายชนิดที่มีชีเขียวสดและสีแดง เช่น poinsettia หรือที่คนไทยเรียกต้นคริสต์มาสซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณอเมริกาใต้
"คำถามสำคัญที่สุดในวันคริสต์มาสไม่ใช่พระเยซูเกิดวันไหน?
แต่อาจเป็นคำถามที่ว่าพระเจ้ารักเรามากขนาดไหน จึงทรงส่งพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ลงมาเกิดในวันนี้เพื่อช่วยเรา"
ข้อมูลอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม ::
ประวัติของเซนต์นิโคลัส แห่งตุรกี https://www.biography.com/religious-figure/saint-nicholas
“ซานตาคลอส” เคยใส่ชุดเขียว ก่อน “โธมัส นาสต์” จับสวมเสื้อแดง และไว้หนวดยาว จาก นิตยสารออนไลน์ The People : https://thepeople.co/santa-claus-thomas-nast/
ประวัติศาสตร์และความจริงของซานตาคลอส จาก National Geographic https://www.nationalgeographic.com/news/2018/12/131219-santa-claus-origin-history-christmas-facts-st-nicholas/
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันคริสต์มาส จาก วิกิพิเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/คริสต์มาส
ที่มาของภาพประกอบ จาก
Saturday Nov 23, 2019
[สวัสดีชาวโลก!] - EP4 Soft Skill กับโลกของการรับใช้
Saturday Nov 23, 2019
Saturday Nov 23, 2019
ในโลกของการทำงาน...ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร ทั้งงานทั่วๆ ในโลก หรืองานรับใช้ก็ตาม องค์กรต่างๆ ก็ล้วนอยากได้คนที่มีทักษะเก่งๆ กันทั้งนั้น แต่ว่าแค่นั้นยังไม่พอ เพราะต่อให้พนักงานในองค์กร จะมีทักษะการทำงานที่ดีแค่ไหน แต่ถ้าทักษะทางสังคมไม่ดี ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานได้
การที่เรามีทักษะในทำงานเก่งนั้นก็เป็นเรื่องดี แต่อีกสิ่งกำลังเป็นที่สนใจขององค์กรต่างๆ มากขึ้นในทศวรรษนี้ก็คงหนีไม่พ้น “ทักษะทางสังคม” เพราะองค์กรณ์หลายแห่งมีบุคลากรที่มีทักษะการทำงานดีๆ เยอะแล้ว ต่อให้ทักษะไม่ค่อยดีเค้าก็จัดอบรมให้กันได้
แต่คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของคนในองค์กรก็สำคัญ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดก็คงเป็น ตัวคนในองค์กรณ์เองนั่นแหละ หลายๆ คนเป็นคนที่เก่งนะแต่ว่ามีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน (Toxic) การทำงานก็อาจสะดุด ดังนั้นคนก็เลยหันมให้ความสำคัญทักษะอีกแบบที่ไม่ใช่แค่ความรู้หรือความเก่ง แต่เป็นเรื่องของความดี ไม่ใช่แค่นิสัยดีนะแต่เป็นคนที่อยู่แล้วดีต่อองค์กร
"ซึ่งคุณลักษณะที่ดีต่อองค์กรและการทำงานนั้นเค้าก็เรียกกันว่ามันเป็น Soft skill ที่ควรมีในการทำงาน"
ชาวชูใจอาจจะเคยได้ยินเรื่องของ Hard skill และ Soft skill ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าในการรับใช้ที่คริสตจักรนั้นเราสามารถนำ soft skill มาช่วยทำให้การรับใช้ของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเหมือนกัน!
รู้จักกับคำว่า Hard skill และ Soft skill กันก่อน
‘Skills’ เป็นคำที่หลายคนรู้จักดีว่าแปลว่า “ทักษะ”
แต่สำหรับคำว่า ‘Hard Skills และ Soft Skills’ ไม่ได้แปลกันตรงตัวแบบ ‘ทักษะแข็ง และทักษะนิ่ม’ นะ แต่หมายความว่า ‘ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills ) และทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills)’
เราคุ้นเคยกับ Hard Skill อยู่แล้ว
hard skill คือ 'ทักษะหลักที่ใช้ในการทำงานในสายวิชาชีพต่างๆ ที่เราสามารถเรียนรู้ผ่านการเรียนในสถาบัน หรือการฝึกฝนจนชำนาญ'
เช่นวิศวกรต้องมีความรู้เรื่องโครงสร้างตึกและคำนวนการรับน้ำหนักได้ ดีไซน์เนอร์ต้องมีความรู้เรื่องสี เรื่องรูปทรง มาสเตอร์เชฟต้องเข้าใจเรื่องวัตถุดิบและวิธีการปรุง (เตือนแล้วนะ!)
สำหรับงานรับใช้ในโบสถ์ก็ไม่ต่างกัน เช่น ผู้รับใช้เราก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์และศาสนพิธี สามารถเขียนโครงร่างคำเทศนาได้ หรือหากเป็นผู้นำนมัสการ เราก็ต้องมีทักษะในการร้องเพลงบ้างและอาจต้องรู้ทฤษฎีดนตรีนิดหน่อย เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้มีสอนกันในโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงเรียนพระคริสต์ธรรมที่เราต่างคุ้นเคย และยังหาได้จาก youtube อีกต่างหาก!
นอกเหนือจากการนำนมัสการและการเทศนา มี Hard skill อีกมากมายที่เราเห็นบ่อยๆ เช่น ทักษะการเล่นดนตรี การสอนรวี การนำเกมเพลงสั้น การร้องการเต้น การเขียนและกำกับบทละคร การทำผัดไทและต้มไข่อีสเตอร์ การประกาศ การถ่ายรูป การตัดต่อวีดีโอ งานประดิษฐ์และงานช่าง สารพัด skill ที่เราเรียกได้ว่าเป็น “งาน” นั้นล้วนแล้วแต่เป็น Hard skill ทั้งนั้น
ในพระคัมภีร์เอง ก็ได้พูดถึง hard skill ที่มาจากพระเจ้าด้วย ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเต้นนมัสการ โดย มีผู้ชาย 2 คนที่ได้รับพระราชทานทักษะจากพระเจ้า เพื่อให้เค้ามีความชำนาญในการทำงานช่างต่างๆ ที่จะใช้สำหรับการสร้างเต้นนัดพบ ซึ่งสองคนนั้นก็คือ “เบซาเลลกับโอโฮลีอับ” (อพยพ 35:30-36:1)
ที่พระเจ้าประทานความสามารถแบบนั้นให้กับทั้งคนก็เพื่อที่จะให้เค้าเป็นคนที่ใช้การได้ สำหรับงานของพระองค์ แต่พอเราพูดถึงคำว่า “ใช้การได้” หลายๆ ครั้งสำหรับคริสเตียนแล้ว เราไม่ได้หมายถึงทักษะในการทำงาน แต่เป็นเรื่องของทักษะชีวิต หรือการมีคุณลักษณะที่ดีบางประการที่สามารถเสริมสร้างชีวิตของคนเหล่านั้น ให้เป็นคนที่ใช้การได้
'คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดี รวมถึงทักษะทางสังคมที่ดี นั้นสำหรับโลกของการทำงานแล้วเค้าก็เรียก
คุณลักษณะเหล่านี้ว่าเป็น soft skill นั่นเอง'
แล้วอะไรคือ (soft skill)
คือ ทักษะทางอารมณ์และสังคม ทักษะประเภทนี้เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นเป็นรูปธรรมแต่มีส่วนสำคัญที่ทำให้การทำงานลุล่วงราบรื่น ส่วนใหญ่เป็นทักษะที่ไม่มีสอนโดยตรง แต่อาศัยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานกหรือการรับใช้ร่วมกับผู้อื่น อาจเกิดการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) โดยมากเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร กระบวนการคิด ความสามารถในการเข้าใจและควบคุมตัวเอง และทักษะทางสังคม ตัวอย่างเช่น
- ทักษะที่เกี่ยวกับความคิด (Thinking Skill)
- ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking (ดาวิด ซาโลมอน)
- การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking (เปาโล)
- การแก้ไขปัญหา Problem Solving (อาบิกายิล)
- นอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น การเรียบเรียงความคิด, การคิดอย่างเป็นระบบ, การคิดเชื่อมโยง, การประยุกต์, การวิเคราะห์, สังเคราะห์ (แบบที่สอบ O-net A-net นั่นแหละ)
- ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Communication & Leadership Skill)
- การสื่อสารในที่สาธารณะ (Public speaking)
- การถ่ายทอดความคิด
- การทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกับผู้อื่นนอกทีม* (Teamwork & Co ordinating with other)
- ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี (Leadership)
- ทักษะทางสังคม (Social Skill)
.
- การมีจิตใจรักการบริการ (Service orientation) หรือ (หัวใจแห่งการปรนนิบัติ Version ของคริสเตียน)
- ความฉลาดทางอารมณ์ EQ
- มารยาททางสังคม
- ความสามารถในการรับรู้ความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
- ทักษะในการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skill)
.
- วินัยและการรู้จักบังคับตน Self Control (ตัวอย่าง ดาเนียล)
- ความเข้าใจในความเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ
- ความสามารถในการเข้าใจตนเอง (รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร รู้สึกอะไร อะไรเป็นจุดอ่อนจุดแข็ง)
- ความสามารถในการเรียนรู้ได้ไว (Fast learning)
- การทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multitasking)
- ทัศนคติที่ดี (Good attitude)
- ความรับผิดชอบ (responsibility)
- ความยืดหยุ่น (Flexibility) ไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่งนะเออ
- การบริการจัดการเวลา (Time Managing)
- ความอดทน ความทุ่มเท ความละเอียดรอบคอบ
ทำไม Soft skill ถึงจำเป็นต่อการรับใช้?
คำตอบก็คือ ... 'เพราะการรับใช้มีเป้าหมายสูงสุดไม่ใช่เพื่อความสำเร็จแต่เพื่อความสุขของผู้คน'
ความสำเร็จอาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกการทำงานในโลกใบนี้ แต่ไม่ใช่กับงานรับใช้ครับ แน่นอนว่าในการรับใช้เราเองก็ต้องการให้เป้าหมายลุล่วงสำเร็จ แต่สิ่งที่เราควรห่วงใยเป็นพิเศษไม่ใช่ผลงานแต่เป็นผู้คนต่างหากเพราะงานรับใช้เป็นงานที่ต้องทำกับคน คริสตจักรคือครอบครัว คือชุมชน ไม่ใช่ออฟฟิศ เพราะเราลาออกไม่ได้ เราต้องอยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกันอย่างเป็นสุขดีกว่า
เพราะงานรับใช้ที่ดีคือการสร้างชีวิตที่เกิดผล ไม่ใช่การสร้างผลงาน ชีวิตที่เกิดผลดี มาก่อน ผลงานที่ดี
เพราะพระเจ้าประธานของประทานทั้งสิ้น เผื่อให้เรารับใช้ซึ่งกันและกัน พระเจ้าปรารถนาให้เราอยู่ร่วมกัน ตะลันต์และของประทานต้องมีความรัก “การทำได้ตามเป้าก็อาจไม่มีค่าอะไรหากการกระทำของเราปราศจากความรัก” (1 ดาเนียล 1-14 : ตัวอย่างซักหน่อย เรื่องของการทำงานรับใช้ ในองค์การณ์อย่างเกิดผล)
“เพราะจุดประสงค์ของงานรับใช้นั้น
ไม่ใช่เพื่อการสร้างผลงานที่ดีเท่านั้น...แต่เพื่อการสร้างชีวิตที่เกิดผลด้วย”
__________________________
แบบฝึกหัดการเข้าใจชาวโลก ตอนที่ 4
- จากที่ฟังมาทั้งหมด ชาวชูใจคิดว่า ตัวเองมี Soft Skill ในด้านไหนบ้าง?
- นอกจากที่ได้ฟังไปแล้ว คิดว่ามีคุณสมบัติไหนอีก ที่ถือว่าเป็น soft skill ของเรา และเราจะพัฒนาทักษะเหล่านั้นได้ยังไง?
#สวัสดีชาวโลก เผยแพร่วันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน ชาวชูใจสามารถกดฟัง Podcast จากชูใจทุกตอนได้ทางลิงค์นี้ >>> https://choojaiproject.podbean.com และจะกด Follow เพื่อให้ไม่พลาดรายการใหม่ๆ ด้วยนะ ^^
Friday Nov 08, 2019
[สวัสดีชาวโลก!] - EP3 คริสเตียนลอยกระทงได้ไหม?
Friday Nov 08, 2019
Friday Nov 08, 2019
คริสเตียนลอยกระทงได้ไหม?
คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยโดยเฉพาะผู้เชื่อใหม่ เพราะเราต่างอาศัยอยู่ในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความเชื่ออื่นๆ มากมาย ทั้งก่อนที่เราจะมาเป็นในพระเจ้านั้นเราก็ต่างเคบเกี่ยวข้องกับประเพณีต่างๆ เหล่านี้ เทศกาลลอยกระทงก็เป็นหนึ่งในประเพณีที่มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างมาก เพราะคนไทยมีความผูกพันธ์ใกล้ชิดกับน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งของชีวิต
จากความสงสัยที่มากนี้วันนี้ชูใจจึงอยากชวนชาวชูใจมาพูดคุยกันในประเด็นนี้ร่วมกัน
เราจะมีจุดยืนในความเชื่อของเราอย่างไรท่ามกลางประเพณีต่างๆ รวมทั้งเทศกาลลอยกระทง
- พิจารณาว่ากิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับศาสนา หรือความเชื่ออื่นแค่ไหน?
ทุกพิธีกรรมนั้นล้วนมีบ่อเกิดจากความเชื่อ หากพิธีกรรมหรือกิจกรรมนั้นเกี่ยวข้อกับความเชื่ออื่นโดยตรง ลองคิดดูว่าเราจะสามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างไร? - พิจารณาว่าการมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเหล่านั้นจะทำให้คนอื่นสะดุดรึเปล่า?
การกระทำเหล่านั้นจะมีโอกาสทำให้พี่น้องที่ได้เห็นเราท่ามกลางกิจกรรมเหล่านั้นสะดุด หรือมีคำถามหรือไม่?
เพิ่มเติม : อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมจากบทความที่ชูใจเคยเขียนไปแล้วได้โดยคลิกที่ชื่อบทความ "คริสเตียนลอยกระทง...หลงทางรึเปล่า?"
_________________________________________________
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการลอยกระทง ที่ไม่ได้พูดถึงใน Podcast
ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมที่พบได้ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สืบทอดมาจากประเทศอินเดีย โดยมีตำนานเกี่ยวกับที่มาว่า "เป็นการบูชาพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ริมแม่น้ำ"
ในคราที่เสด็จลงไปโปรดพญานาคในบาดาลและกลับขึ้นมาได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้ลอยกระทงเป็นการสักการบูชา และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระพระอุปคุต (พระอรหันต์องค์หนึ่ง) ผู้บำเพ็ญตนอยู่ในสะดือทะเลและเป็นผู้ปราบพญามารไม่ให้พยามารมารบกวนพิธีฉลองการสร้างพระสถูปเจดีย์ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย
- สำหรับประเทศไทย มีบันทึกเกี่ยวกับการลอยกระทงว่า มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป" ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปผสาน จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ สนมเอกของพ่อขุนรามฯ จะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม และก็เกิดเป็นการลอยกระทงในน้ำสืบต่อมา
ต่อมาการให้ความหมายต่อการลอยกระทงกลายเป็นการบูชาพระแม่คงคา และผนวกการสะเดาะเคราะห์แบบไทยๆ เข้าไป จนในที่สุดเริ่มกลายเป็นเทศกาลการท่องเที่ยวและงานรื่นเริงมากขึ้น คอนเซ็ปท์ ณ ตอนนี้หลักๆ ก็คือ ขอโทษพระแม่คงคาที่ใช้น้ำ สะเดาะเคราะห์ และเพื่ออธิษฐานขอพร
- ส่วนการลอยโคมลอย ที่แพร่หลายอยู่ในภาคเหนือนั้น แต่เดิม
เป็นพิธีกรรมเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนาว่าผู้คนที่เกิดมานั้นควรจะได้บูชาพระธาตุอันเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ซึ่งวัดพระธาตุเหล่านี้ก็จะตั้งอยู่ตามวัดสำคัญต่างๆ ทั่วภาคเหนือ เพราะคนล้านนาจะเชื่อว่าก่อนที่คนเราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ วิญญาณของเราจะไปชุหรือพักอยู่ที่พระธาตุประจำปีเกิดก่อนที่จะจุติมาเป็นคน ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งที่เกิดมา ทุกคนควรจะได้ไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองให้ได้สักครั้ง อย่างเช่นคนเกิดปีชวดมีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุศรีจอมทองก็ต้องไปไหว้พระธาตุจอมทอง ส่วนคนที่เกิดปีอื่นๆ ก็ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเองไปซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในเขตล้านนา แต่สำหรับคนที่เกิดปีจอแล้ว มีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระเกตุแก้วจุฬามณี ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่บนสวรรค์ หรือในสมัยก่อนการที่เราจะเดินทางไปยังพระธาตุต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายจึงต้องมีการลอยโคมเพื่อไปสักการะพระธาตุเหล่านั้นแทนตัวเรา
ปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม มีความเชื่อว่าการจุดโคมลอยและปล่อยขึ้นไปในอากาศเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกและเรื่องร้ายๆ ให้พ้นตัวและลอยไปกับอากาศ (จาก Voice TV https://www.voicetv.co.th/read/150921)
-
“ทุกประเพณีมีรากของมัน อยู่ที่เราจะมีจุดยืนทางความเชื่ออย่างไร ”
__________________________
แบบฝึกหัดการเข้าใจชาวโลก ตอนที่ 3
- ชาวชูใจคิดว่าในปัจจุบันประเพณีลอยกระทงยังมีความหมายในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อแบบเดิมอยู่ไหม?
- เราจะมีจุดยืนอย่างไรในเทศกาลลอยกระทงนี้
Thursday Oct 31, 2019
[สวัสดีชาวโลก!] - EP2 สวัสดีฮาโลวีน! โลกของผีที่รู้ก็ได้มั้ง
Thursday Oct 31, 2019
Thursday Oct 31, 2019
- วันที่ 31 ตุลาคมสำหรับชาวยุโรป เป็นวันฮาโลวีน ที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อวันปล่อยผี เทศกาลฮาโลวีนนี้จริงๆ แล้วมาจากไหนแล้วทำไมเมืองคริสต์จ๋าอย่าง ยุโรปและอเมริกันถึงมีเทศกาลนี้ แล้วจริงๆ ฮาโลวีนแปลว่าอะไร แล้วเป็นเทศกาลเพื่อการทำอะไรกันแน่?
ฮาโลวีนในความเข้าใจของคนไทย (นาทีที่ 1.00)
สำหรับคนไทยถ้าพูดถึงเทศกาลฮาโลวีน เราอาจจะมีภาพจำดกี่ยวกับ การแต่งตัวเป็นผีและไปเที่ยวเคาะประตูบ้านของขนม การแต่งตัวแฟนซีและร่วมวงแอลกอลฮอล หรือ การประดับประดาบ้านช่องด้วยโคมไฟฟักทอง และแสงเทียน ที่เรารับรู้ภาพของวันฮาโลวีนในแบบนี้ เพราะเรารับรู้มาจากสื่อตะวันตก ทั้งทีวี นิตยสาร และภาพยนตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการนำเสนอความจริงเกี่ยวกับวันฮาโลวีนเพียงด้านเดียว
ความจริงแล้ว ชื่อวันฮาโลวีน เป็นเทศกาลของชาวคริสต์ (นาทีที่ 2.25)
- Hollowed เป็นคำในภาษาแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า sanctify ที่มีรากมาจากภาษาละติน ก็คือทำให้บริสุทธ์ศักดิ์สิทธ์ ซึ่งผู้ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธ์ ก็คือ Saint นั่นเอง ส่วนคำว่า Saint ก็แปลว่า ผู้ศักดิ์สิทธ์ หรือนักบุญ
-
ตัวชื่อของเทศกาล "Hallow" นั้นมาจากฐานคิดแบบคริสเตียน อันที่จริงแล้วคืนนี้เป็นคืนที่เรียกว่า Hallow'eve หรือแปลง่าย ๆ ว่าคืนก่อนวัน Hallow เพราะวันต่อมา คือ 1 พฤศจิกายน นั้นคือวัน All-Hallow day หรือ All Saint Day วันระลึกถึงผู้ชอบธรรมที่ล่วงหลับไปแล้วทั้งหลายซึ่งคาดว่าถูกกำหนดวันอย่างนี้ในช่วงศตวรรษที่ 8 โดยสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3
Halloween เองก็เหมือนกันเทศกาลอื่น ๆ ที่เราพบเห็นได้ในปฏิทินคริสเตียน (Liturgical Calendar) ที่หลาย ๆ เทศกาลนั้นรับอิทธิพลมาจากเทศกาลอื่น ๆ ในสังคมยุโรปโบราณและถูกใส่ความหมายใหม่เข้าไป บางเทศกาลเช่นคริสมาสต์กับอีสเตอร์ก็อาจจะชนะและได้รับความหมายแบบคริสเตียนเต็มที่แม้จะยังหลงเหนือบางอย่างจากวัฒนธรรมเดิมเช่นไข่และกระต่ายเอาไว้แต่ความหมายของวัฒนธรรมเดิมก็ถูกแทนที่ได้ไปเรียบร้อย แต่บางเทศกาลอย่างเช่น Halloween นี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในการช่วงชิงความหมายสักเท่าไหร่
ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับโลกของผีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในวันฮาโลวีน (นาทีที่ 7.00)
แต่ก่อนที่จะเป็นวันก่อนวันระลึกถุงนักบุญ วันที่ 31 ตุลาคม เคยเป็นวันปล่อยผีมาก่อน และที่มาแบบนี้เองที่ทำให้ ชาวคริสต์สมัยใหม่หลายคนที่อนุรักษ์นิยม รู้สึกไม่สบายใจกับที่มาอันน่าสะพรึงนี้
วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีเป็นเทศกาลวันฮัลโลวีนซึ่งในธรรมเนียมของโลกปัจจุบันนั้นสืบทอดมาจากประเพณีของชาวเซลติก(celts) ชาวพื้นเมืองเดิมแถบเกาะไอร์แลนด์ และอังกฤษ ที่ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเฉลิมฉลองเทศกาลวันสุดท้ายของฤดูร้อน ซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวพืชไร่ (เช่นฟักทอง) และนับเป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าชาวบ้านในแถบนั้นจะปลูกอะไรไม่ได้เลย
โดยมีธรรมเนียมดั้งเดิมมาจากความเชื่อว่า “วิญญานแห่งฤดูหนาว” จะมาเยือนผู้คนตามบ้าน หากใครถวายอาหารให้ วิญญาณนั้นก็จะอวยพรให้ได้รับโชคตลอดทั้งฤดู แต่จริง ๆ แล้วประเพณีดังกล่าวน่าจะเป็นกุศโลบายให้คนมอบความช่วยเหลือแก่เพื่อนบ้านขี้อายที่อาจประสบกับความอดยากจากปัญหาผลผลิตไม่ดีในปีนั้น ประเพณีเคาะประตูตามบ้านนี้ ไป ๆ มา ๆ เลยกลายเป็นธรรมเนียมที่เด็ก ๆ แต่งชุดผีแล้วออกเดินตระเวนเคาะประตูเพื่อนบ้านในชุมชนพร้อมกล่าวประโยคว่า Trick or Treat (จะหลอกหรือจะเลี้ยง) ซึ่งเป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่าชาวเซลติก ไม่ได้อยู่ในทวีปอเมริกา แต่วัฒนธรรมนี้มันหลั่งไหลไปกับชาวยุโรปที่ย้ายถิ่นฐานไปนั่นเอง
ความหมายใหม่และความหมายเก่าของฮาโลวีน (นาทีที่ 14.10)
หลังจากสังคมยุโรปได้เปลี่ยนจากสังคมที่นับถือผี สู่สังคมที่รับถือศาสนาคริสต์มีความพยายามในการที่จะเปลี่ยนแปลงเทศกาลเดิมและให้ความหมายแก่วันเทศกาลใหม่ แต่บางครั้งชาวบ้านเองก็ยังคงผสมผสานความเชื่อเดิมเข้าไปในประเพณีต่างๆ ที่เคยเชื่อถือ จึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมในระบบดับชาวบ้าน แม้ว่าศาสนาจะปฏิเสธวิธีการเหล่านั้นหลังจากชาวพื้นเมืองยุโรปได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แทนที่จะฉลองวันปีใหม่แบบเดิม จึงเกิดธรรมเนียมประเพณีของชาวคริสเตียนแทนที่ ค่ำคืนวันที่ 31 ตุลาคมนั้น จึงถูกเรียกว่า All Hollow’s eve หรือเรียกง่าย ๆ ว่า All Saints eve ตั้งแต่ปี ค.ศ. 731 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ตั้งวันนี้ขึ้นเพื่อระลึกถึงและแสดงความเคารพเหล่านักบุญผู้เคยมีคุณูปการณ์แก่ศาสนา
อย่างไรก็ตามคืนฮาโลวีนก็ เป็นค่ำคืนที่คริสตชนระลึกถึงบรรพบุรุษทางความเชื่อ เหล่ามิชชันนารี หรือ อาจารย์ต่าง ๆ ที่นับถือ ( หากเป็นพี่น้องคาทอลิกก็จะระลึกถึงนักบุญและเหล่าผู้พลีชีพเพื่อความเชื่อในอดีต) และในวันรุ่งขึ้น หรือ วันที่ 1พฤศจิกายน ก็จะเป็นวัน All Saints Day คริสเตียนบางส่วนจะถือโอกาสไปยังสุสานเพื่อทำความสะอาดสุสานและระลึกถึงบรรพชน ส่วนพี่น้องคาทอลิกจะเข้าโบสถ์เพื่อระลึกถึงเหล่าวีรชนแห่งความเชื่อและนักบุญ
ไม่ว่าเราจะมองวันฮาโลวีนอย่างไรและมีจุดยืนกับเทศกาลนี้อย่างไร อย่าลืมว่า ไม่ว่าเราจะร่วมกิจกรรม หรือปฏิเสธที่จะเข้าร่วมอย่างไร เราก็ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความรัก
“ไม่สำคัญว่าฮาโลวีนเป็นวันอะไร...สำคัญว่าเราทำอะไรในวันนี้มากกว่า”
__________________________
แบบฝึกหัดการเข้าใจชาวโลก ตอนที่ 2
- ภาพของวันฮาโลวีนในประสบการณ์ส่วนตัวของเราเป็นแบบไหน?
- พอฟังจบแล้ว เรามีความคิดเห็นยังไงเกี่ยวกับวันฮาโลวีน
Monday Oct 21, 2019
[สวัสดีชาวโลก!] - EP1 ทำไมเราไม่เค้าใจเค้าแล้วทำไมเค้าไม่เข้าใจเรา
Monday Oct 21, 2019
Monday Oct 21, 2019
วันนี้พี่ชูใจขอแนะนำ สวัสดีชาวโลก! Podcast ที่จะทำให้คุณเข้าใจโลกนี้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวและโลกที่เราอยู่ก็เปลี่ยนไปทุกวัน :)
ทำไมต้องเข้าใจ? (นาทีที่ 1.00)
ความไม่เข้าใจกันทำให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน ตัวอย่างเช่น การที่เราไม่เข้าใจวัฒนธรรมบางอย่างหรือความชื่นชอบบางอย่าง เช่น เรื่องความคลั่งไคล้ในการ์ตูนของคนที่ เป็น “ชาวโอตาคุ” ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่นิยมคลั่งไคล้ในอะไรบางอย่างเป็นชีวิตจิตใจ ในที่นี้เราหมายถึงคนที่ชอบการ์ตูนมาก และในกลุ่มโอตาคุการ์ตูนนั้น ก็มีกลุ่มคนที่ชื่นชอบตัวการ์ตูนจนแต่ง ตัวเป็นตัวการ์ตูนเหล่านั้น หรือเรียกว่า การแต่ง Cosplay
ถ้าเราไม่เข้าใจความคิด หรือมุมมองในด้านของเค้าเลย เราก็อาจเผลอไผลไปตัดสินตัวตนของเค้าหรือเข้าใจเค้าผิดได้ ซึ่งมันทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหาได้
เราควรเข้าใจอะไรบ้างเพื่อนอยู่กับชาวโลกอย่างมีความสุข? (นาทีที่ 7.25)
- เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม (นาทีที่ 7.40)
นอกจากวัฒนธรรมของชาติ อย่างเช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมญี่ปุ่น แล้ว ในโลกใบนี้ยังมีวัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อยๆ ที่ไม่เหมือนกันด้วย เช่น วัฒนธรรมวับรุ่นต่างๆ ทั้ง โอตาคุ เด็กบอร์ด Rapper กลุ่มนักวิ่ง กลุ่มแฟนดอมเกาหลี และอื่นๆ ความคิดและค่านิยมของแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันไป การที่เรา เข้าใจการมีอยู่ และเข้าใจแนวคิดของกลุ่มคนในวัฒนธรรมอื่นๆ นอกจากเรา ก็จะทำให้เราเห็นความสวยงามในวัฒนธรรมของพวกเขา - เข้าใจความแตกต่างทางความคิด (นาทีที่ 8.30)
คนเรามีความคิดไม่เหมือนกัน เพราะ บริบทในชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม ปูมหลัง ประสบการณ์ ที่หล่อหลอมให้เราแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกัน แม้ในเรื่องๆ เดียวกันคนเราจึงมีความคิดต่อเรื่องๆ นั้นที่แตกต่างกัน เราไม่สามารถใช้ความคิดของเราเป็นบรรทัดฐานในการวัดว่าความคิดของใครถูกหรือผิด - เข้าใจความแตกต่างทางความเชื่อ (นาทีที่ 15.50)
ความเชื่อบางอย่างอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน และการตอบสนองต่อความเชื่อนั้นก็อาจแสดงออกมาแตกต่างกันตามความเชื่อส่วนบุคคล หากเรามองข้ามรายละเอียดปีกๆ ย่อยๆ แล้วเราอาจจะได้เห็นว่า แก่นแท้ของความเชื่อที่แตกต่างกันเหล่านั้น เป็นแก่นเดียวกันก็ได้ และแม้กระทั่งกับคนที่มีความเชื่อที่แตกต่างกับเรา เราก็ควรให้เกียรติความเชื่อของเขาเหล่านั้นด้วย เพราะทุกคนล้วนแต่มีสิทธิ์ในการเลือกและตัดสินใจที่จะเชื่อด้วยตัวเอง การให้เกียรติกันและกันคือกุญแจแห่งการเปิดใจ
เพราะวัฒนธรรมโลกนี้มีความหลากหลาย และเราอยู่ท่ามกลางความหลากหลาย การที่เราจะเข้าใจคนอื่นนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความเข้าใจและการยอมรับซึ่งกันและเป็นเหมือนสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ของคนสองคนนั่นเอ๊งงงงงงงง
-----------------------------------------------------------------------------------
แบบฝึกหัดการเข้าใจชาวโลก ตอนที่ 1
- มีวัฒนธรรมกลุ่มย่อยๆ อะไรบ้างในโลสถ์ของเรา หรือ โรงเรียนที่ทำงานที่เรารู้สึกว่ายังไม่เข้าใจกลุ่มคนเหล่านั้นบ้างนะ?
- แล้วคิดว่า วัฒนธรรมนั้นๆ มีข้อดียังไงบ้าง?
- เคยเจอกับคนที่มีความคิดในเรื่องบางเรื่องแตกต่างกับเราแบบสุดขั้วมั้ย?
- นอกจากความคิดที่แตกต่างกันเค้ามีความคิดอะไรที่เหมือนกับเราบ้างรึเปล่า?
Saturday Sep 14, 2019
[Starter คริสต์ ปี3] - EP8 เรารับใช้หนักเกินไปรึเปล่า?
Saturday Sep 14, 2019
Saturday Sep 14, 2019
ในชีวิตคริสเตียนเราย่อมต้องมีการทำงานรับใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิต แต่หากเราไม่ได้จัดสมดุลย์ให้ดี ระหว่างการดูแลสุขภาพ ร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณแล้วล่ะก็ การตั้งหน้าตั้งตารับใช้ หรืออุทิศตัวแก่คริสตจักรอย่างหนักเกินไป อาจส่งผลเสียต่อเราจนถึงขั้น หมดไฟในการรับใช้หรือ Burn out ได้ คริสเตียนจำนวนมากเมื่อเริ่มเติบโตขึ้นในความเชื่อก็มีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้นตามไปด้วย
วันนี้ชูใจจึงอยากจะชวนเรามาสำรวจตัวเองว่าเรากำลัง เสี่ยงหรืออยู่ในภาวะหมดไฟ Burnout รึเปล่า? และ เราจะมีวิธีการยังไงเพื่อเติมไฟในการรับใช้ และรับใช้อย่างมีความสุข?
10 สัญญาณเตือนภัยที่บ่งบอกว่าเราอาจ Burn Out จากการรับใช้ [นาทีที่ 2.40]
- เริ่มอ่อนเพลียทางด้านร่างกายและจิตใจ
- เริ่มขาดแรงจูงใจในการรับใช้
- เริ่มมองโลกในแง่ลบ
- มีความเครียดเรื้อรัง และไม่มีสมาธิ
- ประสิทธิภาพในการทำงานรับใช้ลดลง
- มีปัญหากับคนรอบข้าง
- ไม่มีเวลาดูแลหรือเพิกเฉยที่จะดูแลตัวเอง
- หมกหมุ่นอยู่กับเรื่องงาน/การรับใช้ แม้ในเวลาที่ควรพักผ่อน
- ความสุขในการรับใช้ลดน้อยลง (ขาดสันติสุขในการรับใช้)
- สุขภาพย่ำแย่ เป็นโรคและอาการเจ็บป่วย ที่มีผลมาจากการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย และผลพวงจากความเครียด
4 เคล็ดลับในการจุดไฟในการรับใช้ [นาทีที่ 5.25]
- หมั่นทบทวนเป้าหมายในการรับใช้ของเรา (ทบทวนเรื่องการทรงเรียก เพื่อให้เราระลึกได้อยู่เสมอว่า สิ่งที่เรารับใช้นั้นทำไปเพื่ออะไร และเพื่อใคร)
- เข้าสู่โหมดพักอย่างแท้จริง (ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และพักสงบในพระเจ้าเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระองค์)
- เปิดใจพูดคุย/ระบายความในใจกับเพื่อนร่วมงาน และเพื่อนฝ่ายจิตวิญญาณ (เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เห็นใจ และเป็นที่สนับสนุนทางจิตใจแก่กันและกัน)
- จัดระเบียบชีวิตให้ดีขึ้น (บ่อยครั้งความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงในการรับใช้ของเรา มีปัจจัยมาจากชีวิตที่ยุ่งเหยิงของตัวเราเอง การจัดการกับตัวเองจะช่วยให้เรารับใช้ได้ราบรื่นขึ้น Work Smart not Work Hard)
_________________________
“การรับใช้ด้วยหัวใจ คือ...หัวใจแห่งการรับใช้”
#Starterคริสต์ ตามติดชีวิตผู้เชื่อใหม่ Podcast เฮฮากับสองพี่เลี้ยงอารมณ์ดี ที่จะมาไขข้อข้องใจในเรื่องชีวิตคริสเตียนขั้นพื้นฐาน สามารถกดฟัง Podcast จากชูใจทุกตอนได้ทางลิงค์นี้ >>> https://choojaiproject.podbean.com และจะกด Follow เพื่อให้ไม่พลาดรายการใหม่ๆ ด้วยก็ยิ่งดีจ้าา ^^
Saturday Sep 07, 2019
[Starter คริสต์ ปี3] - EP7 คริสเตียนกับผี
Saturday Sep 07, 2019
Saturday Sep 07, 2019
-
ความเข้าใจเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรชาตินั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคริสเตียน พระคัมภีร์ไม่ได้ปฏิเสธว่าในโลกนี้ไม่มีผี แต่บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า มีวิญญาณชั่วและสิ่งที่มีอำนาจซึ่งปกครองโลกนี้อยู่ สิ่งสำคัญที่ชาวชูใจควรรู้นั้นไม่ใช่เรื่องผีแต่เป็นการที่มนุษย์หันเหไปจากพระเจ้าและกราบไหว้บูชา หรือ พึ่งพาสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ใช่พระเจ้า ว่านั่นเป็นการกระทำที่ไม่ใช่น้ำพระทัยของพระเจ้าเลยนะ
สาเหตุที่คนเราพึ่งพาสิ่งเหล่านี้มีหลายสาเหตุ เช่น
- คนเราอยากรู้อนาคต และต้องการมีความปลอดภัยในชีวิต เพราะมีความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ไม่แน่ไม่นอน
- คนเรามีความทุกข์และไม่รู้จะออกจากความทุกข์ยังไง รวมถึงการอยากแก้แค้น
- คนเราคาดหวังที่จะ ควบคุมและกำหนดชีวิตของตัวเองได้
-
แม้ว่าเราจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้เพราะ หวังจะได้รับสิ่งดี แต่การเข้าไปเกี่ยวข้อกับวิญญาณนั้นส่งผลเสียต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง เช่น ทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าห่างเหินกัน อาจทำให้เรารู้สึกผิดต่อพระเจ้า รวมทั้งหลงผิดลส่งผลต่อความเชื่อ
ทางอ้อม เช่น ทำให้เราเกิดความกลัวในจิตใจ ไม่มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต แสวงหาทางออกไม่รู้จบ และเสพติดการพึ่งพาไสยศาสตร์
เราจะป้องกันตัวเองให้พ้นจาก เรื่องผีๆ ได้อย่างไร?
- หลีกเลี่ยงและไม่นำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสื่อของวิญญาณต่างๆ เช่น หนังผี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี
- ทำความเข้าใจพระวัจนะของพระเจ้าอย่างถูกต้อง
- รู้ว่าเรามีอำนาจเหนือมารซาตาน ผ่านพระโลหิตและพระนามของพระเยซูคริสต์
_________________________
“โดยโลหิตของพระเยซูคริสต์ เราก็ได้มีชัยชนะเหนือมารซาตานเรียบร้อยแล้ว”
#Starterคริสต์ ตามติดชีวิตผู้เชื่อใหม่ Podcast เฮฮากับสองพี่เลี้ยงอารมณ์ดี ที่จะมาไขข้อข้องใจในเรื่องชีวิตคริสเตียนขั้นพื้นฐาน สามารถกดฟัง Podcast จากชูใจทุกตอนได้ทางลิงค์นี้ >>> https://choojaiproject.podbean.com และจะกด Follow เพื่อให้ไม่พลาดรายการใหม่ๆ ด้วยก็ยิ่งดีจ้าา ^^
Saturday Aug 31, 2019
[Starter คริสต์ ปี3] - EP6 แตกต่างแต่ไม่แตกแยก
Saturday Aug 31, 2019
Saturday Aug 31, 2019
“ เพราะว่า เหมือนกับร่างกายเดียวที่มีหลายๆ อวัยวะ และอวัยวะทั้งหมดของร่างกายนั้นแม้จะมีหลายส่วน
ก็ยังเป็นร่างกายเดียว พระคริสต์ก็ทรงเป็นเช่นนั้น” - 1 โครินธ์ 12:12
_________________________
- ความแตกต่าง คือ ความไม่เหมือนกันของคนสองคน หรือ กลุ่มสองกลุ่มไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนิสัยใจคอ วิถีชีวิต (Life Styles) ความชอบ ความสนใจ เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ฯลฯ
- ความแตกแยก คือ ปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะความแตกต่างกัน ที่ไม่อาจประสานความแตกต่างนั้นให้อยู่ร่วมกันได้
แม้ในหมู่ผู้เชื่อที่เรียกว่า เป็นกายเดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่าง แต่การเข้าใจความแตกต่างจะทำให้ไม่เกิดความแตกแยก แม้แต่ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ก็ยังมีความแตกต่างกันมากๆ จนเกือบจะทำให้คริสตจักรไม่สามารถรวมตัวกันได้ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นใน คริสตจักรเมืองโครินธ์ แต่อาจารย์เปาโล เปรียบเทียบว่า ผู้เชื่อนั้นมีความแตกต่างกัน แต่มีพระเยซูคริสต์เป็นศรีษะ และเราเป็นร่างกายเดียวกัน
ติดตามฟังรายละเอียดว่าเราจะแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้ยังไงใน Podcast ตอนที่ 6 จากพี่โจโจและอิ่มเอมโอปป้าเลยค่ะ
_________________________
“ความแตกต่างที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ
จะไม่นำไปสู่ความแตกแยก”
#Starterคริสต์ ตามติดชีวิตผู้เชื่อใหม่ Podcast เฮฮากับสองพี่เลี้ยงอารมณ์ดี ที่จะมาไขข้อข้องใจในเรื่องชีวิตคริสเตียนขั้นพื้นฐาน สามารถกดฟัง Podcast จากชูใจทุกตอนได้ทางลิงค์นี้ >>> https://choojaiproject.podbean.com และจะกด Follow เพื่อให้ไม่พลาดรายการใหม่ๆ ด้วยก็ยิ่งดีจ้าา ^^